Loading...
คุณกำลังมองหาอะไร?

10 กันยายน 2561 | อ่าน 18,337 ครั้ง

รูปแบบกัลยาณมิตรประเมิน

รูปแบบกัลยาณมิตรประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. (Amicable Assessment Model) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาไทยตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา 47 - 51
 
การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาทุกแห่งนั้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อ กระตุ้นให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาที่ดี รวมทั้งมีการประเมินสถานภาพการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อสะท้อนจุดเด่น จุดด้อย เงื่อนไขความสำเร็จของสถานศึกษานั้น ๆ พร้อมเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษา และรายงานผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบต่อไปด้วย ดังนั้น สมศ. จึงได้กำหนดรูปแบบกัลยาณมิตรประเมินขึ้นเพื่อให้การประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มีคุณภาพประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมตามนัยของความเกื้อกูลกันสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ส่งเสริมและพัฒนา คือ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการประเมินคุณภาพภายนอกและส่งเสริมพัฒนาให้สถานศึกษาพร้อมพัฒนาสู่คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันและพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกจาก สมศ.
  2. สร้างศรัทธาต่อหมอโรงเรียน คือ การพัฒนาคัดสรรผู้ประเมินภายนอกที่มีความเป็นกัลยาณมิตรเพื่อให้สถานศึกษา เกิดศรัทธาและไว้วางใจต่อผู้ประเมินภายนอกและมีความเป็นมิตรต่อกันในการปฏิบัติภารกิจการประเมินคุณภาพภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
  3. เพียรประเมินอย่างกัลยาณมิตร คือ การประเมินสภาพจริงเพื่อยืนยันผลประเมินจากการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาสู่มาตรฐานโดยการบูรณาการการประเมินตนเอง การประเมินเชิงประจักษ์ การประเมินเสริมพลัง การประเมินเชิงคุณภาพ และการประเมินเทียบมาตรฐาน
  4. ชี้ทิศและเสริมแรงพัฒนา คือ การรายงานผลการประเมินอย่างตรงไปตรงมา พร้อมทั้งร่วมมือกับต้นสังกัดในการให้แรงเสริมเพื่อให้สถานศึกษาทีการพัฒนา คุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

18337

อ่าน

เรื่อง ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย
4024 ครั้ง
ขนาด 140 KB
4434 ครั้ง
ขนาด 312 KB
4464 ครั้ง
ขนาด 332 KB
4379 ครั้ง
ขนาด 548 KB